C ไม่มีขั้ว ค่าความจุ 680nF ±10% (ตัวใหญ่)
รูป Super Capacitor ค่าความจุ 0.010F และ 0.22F C มีขั้ว
อ่านค่าตัวต้านทาน อ่านค่าตัวเก็บประจุ และ 20 วิธีใช้มัลติมิเตอร์ วัดไดโอด วัดทรานซิสเตอร์ วัดตัวต้านทาน การใช้มัลติมิเตอร์ต่างๆ แหล่งเรียนรู้ด้วยตัวเอง อ่านที่นี้ เพื่อใช้มัลติมิเตอร์เป็นมากขึ้น การใช้งานมัลติมิเตอร์ สำหรับนักศึกษา ช่างมือใหม่และผู้ที่สนใจงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
เรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์และเรียนรู้ด้วยตนเอง หัวข้อต่างๆจะอยู่ด้านล่างสุด ตอนนี้เป็นเรื่อง : การใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอลวัดกระแสไฟตรง มีรายละเอียดและขั้นตอน 1-2-3 ให้อ่านข้อมูลต่อไปนี้ให้จบซึ่งได้เรียบเรียงข้อมูลให้เป็นขั้นตอนสำหรับศึกษา ประเด็นสำคัญข้อแรกที่ต้องรู้ก่อนวัดคือความสามารถและลิมิตของมัลติมิเตอร์ในการวัดกระแส ยกตัวอย่างมัลติมิเตอร์ UNI-T รุ่น UT33A+ มี 3 ย่านวัดกระแส ต้องเลือกย่านวัดให้เหมาะกับค่าที่จะวัดคือ ย่านวัด uA วัดได้ 0 - 2000uA , ย่านวัด mA วัดได้ 0-200mA , ย่านวัด 10A ใช้วัดกระแสระดับ A มิเตอร์ตัวนี้จะวัดกระแสได้สูงสุด 10A ดังนั้นจีงห้ามใช้วัดกระแสที่สูงกว่า 10A ประเด็นสำคัญข้อที่ 2 คือการเสียบสายวัด การวัดกระแส DC ระดับ uA และ mA สายวัดสีแดงให้เสียบที่ช่อง VΩmAuA ส่วนการวัดกระแสตรงระดับ A ให้เสียบสายสีแดงที่ช่อง 10A ประเด็นสำคัญข้อสุดท้ายไฟฟ้ากระแสตรงมีขั้ว + - การต่อสายวัดต้องคำนึงถึงขั้ว + - ด้วย การวัดกระแสไฟฟ้านั้นมีอันตราย ถ้าเป็นมือใหม่ควรศึกษาไว้ก่อนแต่ไม่ควรด่วนวัดกระแสไฟฟ้าเลยและไม่ควรวัดกระแสไฟฟ้าตามลำพัง ควรทำการวัดอยู่ภายใต้การดูแลของผู้มีประสบการณ์ในการใช้งานมัลติเตอร์ ผู้วัดต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นและการใช้งานมัลติเตอร์ระดับหนึ่งแล้ว
ทำความเข้าใจการต่อสายวัดก่อนวัดกระแสไฟฟ้า DC
การวัดกระแสต้องต่อแบบอนุกรมแล้วการต่อแบบอนุกรมคือต่ออย่างไร ? การต่อแบบอนุกรมคือต่อให้เป็นเส้นเดียวกัน ยกตัวอย่างต้องการวัดกระแสไฟ DC ที่จุดผ่าน A ต้องตัดไฟออกจากวงจรก่อน( ปิดสวิตช์) จากนั้นคำนวณหรือหาข้อมูลปริมาณกระแสที่ผ่านจุด A จากนั้นต่อสายวัดแบบอนุกรมตามรูปโดยการต่อต้องคำนึงถึงขั้ว + - จะสังเกตว่ามิเตอร์จะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่ทำการวัดและเป็นเส้นเดียวกัน
ขั้นตอนการวัดกระแสไฟ DC ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
1. คำนวณหรือหาข้อมูลปริมาณกระแสที่จะวัด ห้ามใช้มิเตอร์วัดกระแสที่เกิดลิมิตสเปคของมิเตอร์ ยกตัวอย่างวงจรด้านล่างคำนวณตามกฏของโอห์ม V = IR , กระแส I = 9/150 = 60mA จากข้อมูลนี้ทำให้รู้ว่าย่านวัดที่เหมาะสมคือ mA
2. ตัดไฟออกจากวงจร ( เปิดสวิตช์ ) และตัดวงจรจุดที่จะวัดกระแส จากนั้นจึงทำการต่อสายวัดแบบอนุกรม
3. เสียบสายวัดให้ถูกต้อง จากข้อมูลในข้อ 1 กระแสที่จะวัดมีค่า 60mA จึงเสียบสายวัดสีแดงที่ช่อง VΩmAuA และสายวัดสีดำเสียบที่ช่อง COM
4. ปรับย่านวัดไปที่ mA เนื่องจากกระแสที่จะวัดอยู่ในช่วง mA
ต่อสายวัดให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงเปิดสวิตช์เพื่อจ่ายไฟเข้าวงจร ไฟ DC ต้องต่อสายให้ถูกขั้ว
การวัดกระแสในงานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้านิยมใช้แคล้มป์มิเตอร์ (Clamp Meter) เพราะใช้งานง่ายและปลอดภัยกว่าไม่ต้องตัดวงจรและไม่ต้องตัดไฟจุดที่ต้องการจะวัดกระแส เพียงใช้แคล้มป์มิเตอร์คล้องสายเส้นที่ต้องการวัดก็จะทราบปริมาณกระแสได้ทันที ที่สำคัญ แคล้มป์มิเตอร์สามารถวัดกระแสได้สูง เช่น UNI-T รุ่น UT210E วัดได้สูงสุด 100A AC และ 100A DC วัดได้ทั้งกระแสไฟ DC และ AC แคล้มป์มิเตอร์นี้ยังใช้งาานเป็นมัลติมิเตอร์ได้ด้วยเพราะมีย่านวัดอื่นๆเหมือนมัลติมิเตอร์ เช่นวัด V I R Diode Hz เป็นต้น
แคล้มป์มิเตอร์ (Clamp Meter) UNI-T รุ่น UT210E ใช้วัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างง่ายๆ
มัลติมิเตอร์ดิจิตอลที่ใช้งานในตลาดมีแบบราคาถูกซึ่งไม่มีฟังก์ชั่นปรับย่านวัดอัตโนมัติและแบบราคาหลายร้อยจะมีฟังก์ชั่นปรับย่านวัดอัตโนมัติ ( Auto Range ) แนะนำให้ใช้แบบมี Auto Range เนื่องจากใช้งานง่ายที่สุดไม่ต้องปรับย่านวัดหลายรอบ การวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง VDC ต้องต่อสายวัดให้ถูกขั้วเนื่องจากไฟฟ้ากระแสตรงมีขั้ว + - ข้อดีของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลคือกรณีต่อสายวัดผิดขั้วมันจะแจ้งเตือนให้ทราบว่ากำลังต่อผิดขั้วอยู่และกรณีปรับย่านวัดต่ำไปไม่เหมาะกับค่าที่กำลังวัดอยู่มันก็จะแจ้งเตือนเป็น Over Range ต้องปรับย่านวัดให้สูงขึ้น ให้อ่านข้อมูลต่อไปนี้ให้ครบจะได้ทำการวัดได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลัก
ทำความเข้าใจก่อนวัดแรงดันไฟ VDC
การวัดแรงดันไฟ VDC ต้องต่อแบบขนานแล้วต่อแบบขนานเป็นอย่างไร ? และไฟ VDC มีขั้ว + - ต้องต่อให้ถูกขั้ว การวัดแบบขนานคือการต่อคร่อมจุดที่จะวัด ดูรูปประกอบ จุดที่ต้องการจะวัดคือจุด A และ B ให้ดูขั้ว + - ก่อนวัด ให้นำสายวัดสีแดงแตะที่จุด A มีขั้ว + และนำสายวัดสีดำแตะที่จุด B ขั้ว - จะสังเกตว่าสายวัดจะคร่อมจุดที่ต้องการวัด
รูปใช้ทำความเข้าใจการวัดแรงดันไฟ VDC ต่อแบบขนาน( ต่อคร่อม )การทราบชนิดของอุปกรณ์ช่วยให้เราเลือกวิธีเช็คดีเสียได้ถูกต้องและสามารถคาดคะเนการทำงานของวงจรเบื้องต้นได้ด้วย มอสเฟตเบอร์ต่างๆและเบอร์ทรานซิสเตอร์แสดงไว้ด้านล่างสุด เบอร์ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1) เบอร์ตามมาตรฐาน JIS ของญี่ปุ่น ลักษณะเบอร์
2SA เป็นทรานซิสเตอร์ BJT ชนิด PNP ใช้งานความถี่สูง
2SB เป็นทรานซิสเตอร์ BJT ชนิด PNP ใช้งานความถี่เสียง
2SC เป็นทรานซิสเตอร์ BJT ชนิด NPN ใช้งานความถี่สูง
2SD เป็นทรานซิสเตอร์ BJT ชนิด NPN ใช้งานความถี่เสียง
2SJ เป็นได้ทั้ง JFET และ MOSFET ชนิด P Channel
2SK เป็นได้ทั้ง JFET และ MOSFET ชนิด N Channel
ที่ตัวอุปกรณ์จริงจะเขียนรหัสย่อหรือ Marking สั้นๆ เช่น D2499 = เบอร์ 2SD2499 , D526 = 2SD526 , C5200 = เบอร์ 2SC5200 , A1943 = เบอร์ 2SA1943 , C5587 = เบอร์ 2SC5587 , C4793 = เบอร์ 2SC4793 , K2221 = เบอร์ 2SK2221 , J352 = เบอร์ 2SJ352 เป็นต้น
2) เบอร์ตามมาตรฐาน American JEDEC ลักษณะเบอร์จะขึ้นต้นด้วย 2N ตัวเลขเบอร์ค่าน้อยมีแนวโน้มจะเป็นวัสดุชนิดเจอรมันเนียม ( Geramnium ) เช่น เบอร์ 2N1301 เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด PNP วัสดุชนิดเจอรมันเนียม เบอร์ 2N3055 เป็นพาวเวอร์ทรานซิสเตอร์ NPN วัสดุชนิดซิลิคอน ( Silicon ) ตัวอักษร A ต่อท้ายหมายถึงเบอร์ใหม่ที่มีการปรับปรุงสเปค
1N เป็นอุปกรณ์มี 2 ขา เช่น ไดโอดเบอร์ 1N4002 1N4004 1N4007 เป็นต้น
2N เป็นอุปกรณ์ที่มี 3 ขา เช่น ทรานซิสเตอร์ หรือ FET ที่มี 3 ขาก็ได้ เช่น 2N3055 เป็นทรานซิสเตอร์
3N เป็นอุปกรณ์ที่มี 4 ขา เช่น FET แบบ Dual เกต
3) เบอร์ตามมาตรฐาน European EECA ตัวอย่างเบอร์ เช่น BC548 BD139 AD133 BU2520A ลักษณะเบอร์จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร 2 ตัว ตัวอักษรตัวแรกมีความหมายถึงชนิดวัสดุ A เป็นเจอรมันเนียม , B เป็นซิลิคอน และ C เป็น Gallium Arsenide (GaAs) ตัวอักษรที่ 2 หมายถึงประเภทการใช้งาน เช่น A = ไดโอด , C = ทรานซิสเตอร์ใช้งานทั่วไป ตัวอักษร2 ตัวนั้นจะตามด้วยตัวเลข 3 ตัว และตามด้วยตัวอักษรหรือตัวเลขต่อท้ายอีกหมายถึงตัวถัง(เคส)ของอุปกรณ์ หรือหมายถึงเกนอัตราขยาย hFE เช่น BC327-25 หรืออาจหมายถึงพิกัดทนแรงดันซึ่งขึ้นอยู่กับเบอร์ ยกตัวอย่างความหมายของเบอร์ตามมาตรฐาน European EECA นี้
AD133 เป็น Power Transistor ใช้งานความถี่เสียง วัสดุชนิดเจอรมันเนียม
BD139 เป็น Power Transistor วัสดุชนิดซิลิคอน
BF245 เป็น ทรานซิสเตอร์ใช้งานความถี่สูง RF วัสดุชนิด ซิลิคอน
ลักษณะเบอร์ตามมาตรฐาน European EECA นี้จะขึ้นต้นด้วย AC AD AF AL AS AU BC BD BF BS BL CF CL เป็นต้น
4) เบอร์เฉพาะของโรงงาน คือเบอร์ที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐาน 3 ข้อข้างต้น โรงงานมีวิธีการระบุเบอร์ตามแบบของโรงงานเอง เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมาเฉพาะและเป็นลิขสิทธ์ของโรงงาน อุปกรณ์เบอร์เหล่านี้อาจมี Datasheet ให้เช็คสเปคหรือไม่มี Datasheet ก็ได้เนื่องจากเป็นความลับทางการค้า ให้อ้างอิงข้อมูลจากผู้ผลิต
Note : ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงและเรียบเรียงมาจาก Wikipedia สามารถอ่านเพิ่มได้ที่
https://en.wikipedia.org/wiki/Transistor
VN2222LL-G 0.23A 60V Id = 0.23A , 60V= BVDSS = Drain-to-source breakdown voltage
สัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์ชนิด NPN และ PNP