การวัดทรานซิสเตอร์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล ใช้เพื่อทำความเข้าใจการวัดทรานซิสเตอร์ NPN PNP ดีเสีย ขาด ช๊อต

การวัดทรานซิสเตอร์เพื่อเช็คว่าทรานซิสเตอร์ดีเสีย ถ้าใช้ดิจิตอลมัลติเตอร์จะใช้ย่านวัดไดโอด  ทรานซิสเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยสารชนิด P และสารชนิด N  การวัด Transistor คือการเช็คสภาพรอยต่อ PN ว่ายังปกติดีอยู่หรือไม่  ทรานซิสเตอร์มี  3 ขาคือขาเบส (  B ) ขาคอลเลคเตอร์ ( C )  และขาอีมิตเตอร์ (E )   ตัวอย่างเบอร์ทรานซิสเตอร์  มักจะขึ้นต้นเบอร์แบบนี้


2N3055  NPN  15A  600V     

2N4401  NPN  600mA 40V  

C3209  NPN 2A  50V  

C564B  NPN  100mA 65V 

D313L  NPN 3A  60V  

D1857L  NPN  2A  120V 

KSP42  NPN  50mA  300V

KSP44   NPN  300mA   400V

MJE182  NPN  3A  80V

MJE340   NPN 500mA  300V

TIP29C   NPN  1A   100V

TIP35C    NPN   25A   100V

TIP36C    PNP   25A    100V

TIP42C    PNP  25A     100V

MJ2955    PNP  15A     60V


electronic components testing


แบบไดโอดเพื่อใช้ทำความเข้าใจการวัดทรานซิสเตอร์ดีเสีย  นอกจากนี้ยังสามารถใช้หาขาของทรานซิสเตอร์ได้ด้วย  

วัดทรานซิสเตอร์  ທຣານສິດເຕີ  transistor

วัดทรานซิสเตอร์  ທຣານສິດເຕີ  transistor



   ทรานซิสเตอร์เบอร์ที่ใช้วัดเป็นตัวอย่างมีขาเรียง  B   C  E  ชนิด NPN
   ทรานซิสเตอร์เบอร์ไม่เหมือนกันอาจมีการเรียงขาที่ไม่เหมือนกัน
   


ขั้นตอนการวัดทรานซิสเตอร์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

1. ให้ถอดทรานซิสเตอร์ออกจากวงจร เพราะการวัดทรานซิสเตอร์เป็นการวัดตอนไม่มีไฟ ถ้าไม่ทำตามนี้มิเตอร์จะพังและคนวัดได้รับอันตรายจากไฟฟ้า

2. หาตำเหน่งขาของ Transistor  อาจสังเกตจากแผ่น PCB หรือดูจาก Datasheet  ทรานซิสเตอร์เบอร์ไม่เหมือนกันอาจมีการเรียงขาไม่เหมือนกัน  ทรานซิสเตอร์เบอร์ที่ใช้วัดเป็นตัวอย่างมีขาเรียง  B   C   E

3.  วัดขา B กับ  E  และขา B กับขา  C   โดยใช้ย่านวัดไดโอด 

-  ชนิด NPN  สายวัดสีแดงให้ยึดขา B  ไว้  สายวัดสีดำให้แตะขา E  และย้ายไปแตะขา  C  ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงแรงดันตกคร่อมรอยต่อ PN  ประมาณ  0.5 - 0.8V

-  ชนิด PNP   สายวัดสีดำให้ยึดขา B  ไว้  สายวัดสีแดงให้แตะขา E  และย้ายไปแตะขา  C  ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงแรงดันตกคร่อมรอยต่อ PN  ประมาณ  0.5 - 0.8V

-   ขาด  ( เสีย )     วัดและสลับสายวัดขึ้น  OL  ทั้ง 2 ครั้ง

-   ช๊อต  ( เสีย )    วัดและสลับสายวัดขึ้น  0.000V   ทั้ง 2 ครั้ง




  

  ทรายซิสเตอร์ดี จะต้องมีแรงดันตกคร่อมรอยต่อ PN ที่ขา B กับ E  ประมาณ   0.5 -0.8V


  ทรายซิสเตอร์ดี จะต้องมีแรงดันตกคร่อมรอยต่อ PN ที่ขา B กับ C  ประมาณ   0.5 -0.8V



4.  วัดขา C กับ  E  และสลับสายวัดอีกครั้ง    โดยใช้ย่านวัดไดโอด 

ทรานซิสเตอร์ดีจะขึ้น    OL ทั้ง 2 ครั้ง




5. พิจารณาผลการวัดดังนี้

 -  ดี  จะได้ผลการวัดตามที่แสดงไว้ข้างต้นคือมีแรงดันตกคร่อมขา B-C  และ B-E  =   0.5 -0.8V

-   ขาด( เสีย )     จะขึ้น OL ตลอดจะสลับสายวัดอย่างไรก็ขึ้น OL ทุกครั้ง

-  ช๊อต ( เสีย )    จะขึ้น  0.000   ตลอดจะสลับสายวัดอย่างไรก็ขึ้น 0.000 ทุกครั้ง








อ่านต่อ  >>>>


วัดถ่าน หรือ แบตเตอรี่

วัดกระแสไฟฟ้า

วัดแรงดันไฟฟ้า  Vac

วัดแรงดันไฟฟ้า  VDC

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอด  SMD  

วัดไดโอดบริดจ์ 

วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง

วัดฟิวส์

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD

วัดทรานซิสเตอร์รั่ว

วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์


วัด  C   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดคาปาซิเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

การอ่านค่า R SMD  โวลุ่ม TRIMMER และรหัสตัวเลข R

อ่านค่า R  4 แถบสี และ 5 แถบสี


วัด  เช็ค R ดีเสีย ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล  

 วัด  R  ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ  และ   การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์    



การอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบเป็นรหัสตัวเลข เช่น ตัวต้านทานปรับค่าได้ โวลุ่ม TRIMMER และ อ่านค่า R SMD

ตัวต้านทานปรับค่าได้  เช่น โพเทนชิโอมิเตอร์  โวลุ่ม  TRIMMER  จะบุค่าเป็นรหัสตัวเลข และนอกจากนี้ตัวต้านทาน SMD ก็ระบุค่าเป็นรหัสตัวเลขเช่นกัน  จะยกตัวอย่างวิธีการอ่านค่า R เหล่านี้เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ  


ตัวต้านทานปรับค่าได้  VR   potentiometer
    โวลุ่มจะระบุค่าตรงๆ เช่น   5K คือ  5K Ohm   ,    50K คือ  50K Ohm  

   
ตัวต้านทานปรับค่าได้  VR  potentiometer
   ตัวต้านทานปรับค่าได้ รหัส 102 คือมีค่าความต้านทาน  1K  Ohm  



รหัสตัวเลขค่า R ของตัวต้านทานปรับค่าได้
ค่าที่นิยมใช้และมีจำหน่ายในตลาดมีดังนี้  ตัวเลขที่ 1 และ 2 เป็นตัวตั้ง  ตัวเลขที่ 3 เป็นจำนวนเลข 0
หรือตัวคูณ

100  =   10  Ohm     มาจาก   10x100     =  10x1      = 10 
200  =   20  Ohm     มาจาก   20x100     =  20x1      = 20 
500  =   50   Ohm    มาจาก   50x100     =  50x1      = 50 
101  =  100  Ohm    มาจาก   10x101     =  10x10    = 100 
201  =   200 Ohm    มาจาก    20x101    =  20x10    = 200 
501  =   500 Ohm   มาจาก    50x101     =  50x10    = 500 
102  =  1000 Ohm หรือ 1K Ohm       มาจาก    10x102   =  10x100    =  1000
202  =  2000 Ohm  หรือ 2K Ohm      มาจาก    20x102   =  20x100    =  2000
502  =  5000 Ohm  หรือ 5K Ohm      มาจาก    50x102   =  50x100    =  5000
103  =  10000 Ohm หรือ  10K Ohm  มาจาก    10x103   =  10x1000  =  10000
203  =  20000 Ohm หรือ  20K Ohm  มาจาก    20x103   =  20x1000  =  20000
253  =  25000 Ohm หรือ  25K Ohm   มาจาก    25x103  =  25x1000  =  25000
503  =   50000 Ohm หรือ  50K Ohm       มาจาก    50x103  =  50x1000     = 50000
104  =  100000 Ohm หรือ 100K Ohm     มาจาก    10x104  =  10x10000   = 100000
204  =  200000 Ohm หรือ 200K Ohm     มาจาก    20x104  =  20x10000   = 200000
254  =  250000 Ohm  หรือ  250K Ohm    มาจาก   25x104  =  25x10000   = 250000
504  =  500000 Ohm  หรือ  500K Ohm   มาจาก    50x104  =  50x10000   = 500000
105  =  1000000 Ohm หรือ  1M Ohm     มาจาก    10x105  =  10x100000  = 1000000
205  =  2000000 Ohm หรือ  2M Ohm     มาจาก    20x105  =  20x100000  = 2000000




ตัวต้านทาน SMD  ຕົວຕ້ານທານ  Resistor



รหัสตัวเลขค่า  R   SMD 
วิธีระบุค่า  R  SMD  มี 2 แบบย่อยขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและวิธีการการอ่านค่ามีรายละเอียดดังนี้

1.  รหัสตัวเลข  ที่ต้องแปลงค่า  
 1.1)   แบบ 3 หลัก  มีค่าความคลาดเคลื่อน ± 5%
1.2 )   แบบ 4 หลัก  มีค่าความคลาดเคลื่อน ± 1%
2.  รหัสตัวเลข  ที่ต้องดูตารางค่ามาตรฐานแล้วแปลงค่า


1.  รหัสตัวเลข  ที่ต้องแปลงค่า  
 1.1)  แบบ 3 หลัก  มีค่าความคลาดเคลื่อน  ± 5%
100     =   10 Ω        มาจาก  10 x 100  = 10 x 1        =  10  
102     =   1000Ω    มาจาก  10 × 102   = 10 x 100    = 1000 โอห์ม  หรือ 1K Ohm
103     =   10000Ω  มาจาก  10 × 103   = 10 x 1000  = 10000 โอห์ม หรือ 10K Ohm
270    =   27Ω  มาจาก  27 × 100   = 27 x 1    =  27  Ohm
391    =  39Ω   มาจาก  39 × 100   = 39 x 1    =  39  Ohm
3R3   =  3.3Ω   โดย R หมายถึง จุดทศนิยมและมีหน่วยเป็น โอห์ม
 R22  =  0.22Ω    
4R7   =  4.7Ω        
3K2    =  3.2KΩ    โดย  K  หมายถึง  จุดทศนิยมและมีหน่วยเป็น K โอห์ม
2M1   =  2.1MΩ    โดย  M หมายถึง  จุดทศนิยมและมีหน่วยเป็น M โอห์ม



1.2)  แบบ 4 หลัก  มีค่าความคลาดเคลื่อน  ± 1%
1000      =   100 Ω    มาจาก   100 x10  =  100x1   =    100   โอห์ม
1001      =   1000 Ω หรือ 1K Ohm   มาจาก   100 x10  =  100x10  =   1000   โอห์ม
1004      =   100KΩ    มาจาก   100 x10  = 100x10000  =   1000000   โอห์ม
1500      =   150  Ω    มาจาก   150 x10  = 150x1      =   150   โอห์ม
4992      =   49.9KΩ   มาจาก   499 x102   = 499x100  =   49900   โอห์ม
1R00     =   1.00 Ω   โดย R หมายถึง จุดทศนิยมและมีหน่วยเป็น โอห์ม
10R0     =   10.0  Ω
0R22     =   0.22 Ω
R020     =   0.020 Ω
R100     =   0.100 Ω


ตัวต้านทาน SMD  ຕົວຕ້ານທານ  Resistor  រេស៊ីស្តង់   điện trở
    ตัวต้านทาน  SMD  ค่า  22   Ohm    (  Code  22R0  )



ตัวต้านทาน  1K   SMD  ຕົວຕ້ານທານ  Resistor
    ตัวต้านทาน  SMD  ค่า  1K  Ohm    (  Code  1001)
  


ตัวต้านทาน  100  Ohm  SMD  ຕົວຕ້ານທານ  Resistor
   ตัวต้านทาน  SMD  ค่า  100  Ohm    (  Code  1000)



2.  รหัสตัวเลข  ที่ต้องดูตารางค่ามาตรฐานแล้วแปลงค่า
เป็นรหัสตามมาตรฐาน  EIA-96   ต้องดูตารางก่อนแล้วนำมาคูณกัน   จะมีค่าที่ใช้เป็นตัวตั้ง  96 ค่าตามในตารางลักษณะรหัสตัวเลขมีตัวอย่างดังนี้     ตารางที่พูดถึงนี้ให้ค้น google คำว่า   EIA-96 SMD Resistor Code  หรือ  E96  Resistance Value  Code


รหัสตัวคูณ  ( Multiplier  Code )

Z                 =      x  0.001
R or   Y       =      x  0.01
S  or  X       =      x  0.1
A    =   x 1   
B   =   x 10
C   =   x 100
D   =   x 1K
E   =   x 10K
F   =    x 100K
G   =   x 1M
H   =   x 10M


ตารางค่า R  ตามมาตรฐาน EIA-96   Value  Code
ค่าความต้านทาน

ตัวอย่างการใช้ตาราง

01Y =   1Ω     จากค่าในตาราง  01 = 100 ตัวตั้ง  และ Y =  0.01 ตัวคูณ    ดังนั้น  100x0.01  =  1
01X =   10Ω      01 = 100 ตัวตั้ง  และ X =  0.1 ตัวคูณ  ดังนั้น  100x0.1  =  10    Ohm
01A =   100       01 = 100 ตัวตั้ง  และ A =   1 ตัวคูณ    ดังนั้น  100x0.1  =  100  Ohm
01B =   1kΩ      01 = 100 ตัวตั้ง  และ B=   10 ตัวคูณ    ดังนั้น  100x 10  =  1000  หรือ  1K 
01C=    10kΩ    01 = 100 ตัวตั้ง  และ C=   100 ตัวคูณ  ดังนั้น  100x 100  =  10,000  หรือ  10K 
01F =   10MΩ   01 = 100 ตัวตั้ง  และ  F= 100K ตัวคูณ ดังนั้น  100x 100K =10000K  หรือ  10M


การวัดค่าความต้านทาน เช็ค R ดีเสียด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

การใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอลวัดค่าความต้านทานนั้นต้องวัดขณะที่ไม่มีไฟหรือวัดนอกวงจร  คุณสมบัติเด่นของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลคือใช้งานง่ายเพราะแสดงผลเป็นตัวเลขช่วยลดความคลาดเคลื่อนจากการอ่านค่า  มัลติมิเตอร์แบบเข็มต้องใช้ทักษะการอ่านค่าสเกล ต้องคูณค่าที่วัดและต้องปรับ 0 Ohm ADJ  ให้เข็มเริ่มชี้ที่เลข 0  ก่อนทำการวัด    ถ้าใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลจะไม่มีขั้นตอนเหล่านี้   และนอกจากนั้นไม่ต้องปรับย่านวัดหลายครั้งตั้งเป็น  Auto Range ครั้งเดียววัดได้ทุกค่า   มัลติมิเตอร์ดิจิตอลราคาถูกจะไม่มีฟังก์ชั่น Auto Range  ถ้าใช้มิเตอร์บ่อยแนะนำให้เพิ่มงบประมาณอีกสักนิดเลือกมิเตอร์ที่ Auto Range ได้เพราะเมื่อวัดความต้านทาน วัดแรงดันจะสะดวกอย่างมาก    หลักการวัดตัวต้านทานคือใช้ไฟจากมิเตอร์ผ่านตัว R หรือจุดวัด จากนั้นมิเตอร์จะแสดงค่าที่วัดได้บนหน้าจอ


วัดตัวต้านทาน   Resistor   test   check
    วัด R  ค่า  20  Ohm วัดได้  19.9 Ohm  เป็น  R  ดีได้ค่าตามสเปคคือไม่เกิน % คลาดเคลื่อน
F =  ±1%   ควรวัดได้อยู่ในช่วง   19.8 Ohm  -20.2 Ohm   (20 -1%  ถึง  20+1%  )



ขั้นตอนการใช้ มัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทาน
1.  ตัดไฟออกจากวงจร  ปิดสวิตช์และถอดปลั๊กก่อนทำการวัด R  ถ้าไม่ทำตามนี้มิเตอร์จะพังและคนวัดอาจได้รับอันตรายจากการวัด
2. เสียบสายวัดสีแดงเข้ากับรูช่อง   VΩmAuA  และสายวัดสีดำเข้ากับรูช่อง COM
3. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดโอห์มซึ่งใช้สัญลักษณ์  Ω  เช็คให้แน่ใจว่าได้เลือกย่านวัดถูกต้องแล้ว
4. ต่อสายวัดเข้ากับ R จะต่อสายวัดข้างไหนก็ได้เนื่องจาก R ไม่มีขั้ว  กรณีวัด R ในวงจรค่าที่ได้จะไม่ตรงและคลาดเคลื่อนสูงเนื่องจากกระแสไหลไปหลายทาง วัดค่า R ในวงจรต้องลอยขาหรือถอดขา R 1 ข้างก่อน ( วัดตอนไม่มีไฟเท่านั้น )
5.  พิจารณาผลการวัด ต้องวัดค่าได้ใกล้เคียงกับค่าสเปคซึ่งระบุไว้ที่ตัว R  เช่น รหัสสี  และตัวเลขบอกค่าความต้านทาน
     -   ดี   ได้ค่าตรงและใกล้เคียงค่าตามสเปคหรือค่าที่ระบุตามป้าย
     -   ขาด (เสีย)   วัดขึ้น OL    
     -   วัดค่าได้สูงกว่าค่าตามสเปคระบุไว้มากๆ เป็น  R เสีย ค่ายึด  ทำให้ค่าต่างๆในวงจรเปลี่ยนไปด้วยตามกฏของโอห์ม   V= IR   ส่งผลให้วงจรทำงานผิดปกติหรือทำงานไม่เหมือนเดิม



วัดตัวต้านทาน  Resistor  test  ตัวต้านทาน 100 Ohm
   วัด R  ค่า 10 Ohm    ±1%    วัดได้ 10 Ohm คือ R ดี  ค่าที่ได้ควรอยู่ในช่วง  9.9 Ohm -  10.1 Ohm
   ( ช่วง  10-1%    10+1%   )



วัดตัวต้านทาน  ตัวต้านทาน  10K  Ohm
    วัด R  ค่า 10K Ohm   ±5%    วัดได้ 9.78K  Ohm คือ R ดี ได้ตามสเปคไม่เกิน % คลาดเคลื่อน


วัดตัวต้านทาน  ตัวต้านทาน  1M   Ohm
    วัด R  ค่า 1M   Ohm   ±5%    วัดได้  1.016M  Ohm คือ R ดี  ได้ตามสเปคไม่เกิน % คลาดเคลื่อน



ความคาดเคลื่องของมัลติมิเตอร์ Digital เทียบกับมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
ความคลาดเคลื่อนของค่าที่วัด ในคู่มือมิเตอร์นิยมระบุค่า Accuracy  แปลว่า ความถูกต้อง ในวิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าแปล Accuracy ว่าความแม่นยำ  ยกตัวอย่างมิเตอร์ดิจิตอล  รุ่น  UNI-T รุ่น UT33A+
สังเกตว่าทุกย่านวัดจะมี ±%  คลาดเคลื่อนใกล้เคียงกัน ค่ามีความเป็นลิเนียร์และดีกว่ามัลติมิเตอร์แบบเข็ม

Range 200.0 Ω  มีค่า Accuracy           ±%  ( 1.0% + 2 )
Range 2000 Ω  มีค่า Accuracy            ±%  ( 0.8% + 2 )
Range 20.00 KΩ  มีค่า Accuracy         ±% ( 0.8% + 2 )
Range 200.0 KΩ  มีค่า Accuracy         ±% ( 0.8% + 2 )
Range 20.00 MΩ  มีค่า Accuracy        ±%  ( 1.2% + 3 )
Range 200.0 MΩ  มีค่า Accuracy        ±%  (5% + 10 )


Accuracy ของมัลติมิเตอร์แบบเข็มมีวิธีระบุค่าแตกต่างมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล  ยกตัวอย่างมัลติมิเตอร์แบบเข็ม   รุ่น  YH-372D
ทุกย่านวัดระบุค่า Accuracy  เป็น  ± 4% + of  ARC of   Scale Length 
Range  x1
Range  x10
Range  x100
Range  x1K
Range  x10K

วัดคาปาซิเตอร์ดีเสียด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม การวัดคาปาซิเตอร์พัดลม และ เช็คCapacitor ดีหรือขาด

วิธีวัดคาปาซิเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะใช้ย่านวัดโอห์ม ( Rx) สามารถวัดได้ทั้งคาปาซิเตอร์มีขั้ว ( คาปาซิเตอร์ DC  ) และคาปาซิเตอร์ไม่มีขั้วซึ่งคาปาซิเตอร์ที่ใช้กับไฟ AC เป็นคาปาซิเตอร์ไม่มีขั้ว  หลักการวัดคือใช้ไฟจากมัลติมิเตอร์ประจุ(ชาร์จ)ให้ตัวเก็บประจุซึ่งตอนนี้เข็มมิเตอร์ต้องขึ้นเพื่อแสดงถึงกระแสไหล  เมื่อชาร์จเต็มแล้วกระแสจะหยุดไหล  ตอนนี้เข็มมิเตอร์จะลงเพื่อแสดงว่าไม่มีกระแสไหล    ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานของตัวเก็บประจุเบื้องต้น  กรณีจ่ายไฟให้ตัวเก็บประจุแล้วไม่มีการเก็บประจุไม่มีกระแสไหลเลยทำให้เราทราบว่าตัวเก็บประจุตัวนี้เสียลักษณะขาด  กรณีชาร์จไปสักครู่แล้วเข็มลงไม่สุดสเกลแสดงว่ามีกระแสรั่วไหลยังมีกระแสไหลได้อยู่เล็กน้อย



วัดคาปาซิเตอร์พัดลม ค่า 5uF  ใช้ย่านวัด  Rx1K       C ดี  วัดแล้วเข็มต้องขี้น จากนั้นเข็มลงสุดสเกล
ถ้าเข็มขึ้นแล้วค้างคือเสีย(ซ๊อต) วัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยคือเสีย(ขาด)


ขั้นตอนการวัดตัวเก็บประจุ
1. ต้องวัด C  นอกวงจรและให้วัดขณะไม่มีไฟ  ให้ปิดสวิตช์ถอดปลั๊กเพื่อเอาไฟออกจากวงจรก่อน และถ้าเป็น C ตัวใหญ่ C แรงดันสูงต้องดิสชาร์จก่อนทำการวัดทุกครั้ง   สาเหตุที่ต้องวัด C ตอนไม่มีไฟเพราะในการวัด  C  ต้องใช้ไฟจากมิเตอร์เพื่อชาร์จให้  C   ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้มัลติมิเตอร์จะพังและผู้วัดจะได้รับอันตราย  
2. ปรับสวิตช์ย่านวัดโดยมีหลักการว่า 

C  ค่าสูงให้ใช้  Rx ค่าต่ำ  และ C ค่าต่ำให้ใช้ย่าน Rx  สูง  
เช่น   ค่าประมาณ  10uF      ตั้งค่า  R x1K     
         ค่าประมาณ  100uF    ตั้งต่า  Rx100
         ค่าประมาณ  4700UF  ขึ้นไปตั้งค่า R x 1  

3. พิจารณาผลการวัด
    -    C    ดี วัดแล้วเข็มขึ้นและจากนั้นเข็มก็ลงสุดสเกล คาปาซิเตอร์แบบอิเล็กทรอไลต์มีกระแสรั่วเล็กน้อยถือว่าดี ส่วน C ไม่มีขั้วจะไม่มีกระแสรั่วไหลเลย
    -    C   ขาด    วัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลย    สลับสายแล้ววัดอีกรอบเข็มก็ไม่ขึ้นไม่กระดิกเลย
    -    C   ช๊อต   วัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกล  สลับสายวัดแล้ววัดอีกรอบเข็มก็ขึ้นสุดสเกลเหมือนเดิม



วัดคาปาซิเตอร์   test   check  Capacitor  ຕົວເກັບປະຈຸ
   C  ดีเข็มต้องขึ้นและลงสุดสเกล  ( ยกเว้นคาปาซิเตอร์ชนิดอิเล็กทรอไลต์ตัวใหญ่ ค่าสูงๆ จะมีกระแสรั่วนิดๆอาจไม่ลงสุดสเกลถือว่าเป็น C ดี )   สลับสายวัดเข็มก็จะขึ้นลงแบบเดิม


   
วัดคาปาซิเตอร์
   C ช๊อต ( เสีย ) เข็มจะขึ้นสุดสเกล สลับสายวัดเข็มก็จะขึ้นสุดสเกลเหมือนเดิม



    C ขาด ( เสีย ) เข็มจะไม่ขึ้นเลย  สลับสายวัดเข็มก็จะไม่ขึ้นเช่นกัน


ตัวเก็บประจุไม่มีขั้วค่าน้อยระดับ pF ให้ใช้ย่านวัด   Rx10K บางครั้งถ้า C ค่าน้อยมากๆมิเตอร์อาจวัดไม่ขึ้นเลยทั้งๆที่เป็น C ดี  ต้องใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลวัดจึงจะวัดและแสดงค่าน้อยๆนี้ได้
คาปาซิเตอร์ที่เป็นโครงโลหะต้องวัดการช๊อตลงโครงด้วย ตั้ง Rx10K แล้ววัด
C ดีไม่ช๊อตลงโครงเข็มต้องไม่กระดิกเลย


วิธีตรวจสอบ LED และข้อมูลสเปค LED คืออะไร ลักษณะขาและสัญลักษณ์ไดโอดเปล่งแสง

LED คืออุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่เปล่งแสงได้  ใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงและประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย  LED  ย่อมาจาก  Light  emitting  diode  แปลว่าไดโอดเปล่งแสง LED เป็นไดโอดชนิดหนึ่งประกอบด้วยสารเซมิคอนดักเตอร์ชนิด N  และชนิด  P   หลักการทำงานคือเมื่อมีกระแสไหลผ่านอิเล็กตรอนจะรวมตัวกับโฮลพร้อมกับปล่อยพลังโฟตอน (photon) หรือแสงออกมา  แสงสีต่างๆเกิดจากการใช้วัสดุที่ต่างกัน  เช่น  สีแดงใช้ Aluminum Gallium Arsenide (AlGaAs)    สีเหลืองและสีเขียวใช้  Gallum Phosphate (GaP)   สีน้ำเงินใช้  Indium Gallium Nitride (InGaN)  เป็นต้น   ตัวอย่างการนำ LED ไปใช้งานเช่น ใช้เป็นหลอดสัญญาณเตือน  ทำป้ายข้อความ  หลอดไฟ LED  หน้อจอแสดงผลแบบ LED  ลักษณะของแอลอีดีมีแบบกลม  ขนาดมาตรฐาน  3mm  5mm  10mm  แบบสี่เหลี่ยม   แบบ   SMD  คุณสมบัติเด่นของ LED คืออายุการใช้งานที่ยาวนาน มีความร้อนน้อยขณะทำงาน  ประหยัดไฟกว่าหลอดไฟแบบอื่นๆ

   
ไดโอดเปล่งแสง  LED   Light  Emitting  Diode
    LED  ย่อมาจาก  Light   Emitting Diode  แปลว่า  ไดโอดเปล่งแสง


LED   ไดโอดเปล่งแสง
    ตัวอย่าง LED   Size   มาตรฐาน    5mm   และ   10mm

    

ไดโอดเปล่งแสง  LED   ໄດໂອດ
   ขนาดของ  LED  10mm



หลอด  LED
   ใช้ LED แบบ SMD ผลิตเป็นหลอดไฟมีทั้งแบบใช้ไฟ DC และ ไฟ AC
  



ลักษณะขาและสัญลักษณ์ของไดโอดเปล่งแสง ( LED )
LED แบบมาตรฐานจะมี 2 ขาคือขาแอโนด( Anode )ซึ่งเป็นขั้ว +    ขาแอโนดจะมีขายาว อีกขาคือขาแคโทดซึ่งเป็นขั้ว -   วิธีสังเกตขาแคโทดคือเมื่อมองเข้าไปที่ด้านในจะมีโลหะชิ้นใหญ่ที่สุด แอลอีดีเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขั้วจำเป็นต้องต่อให้ถูกขั้วกรณีต่อผิดขั้วมันจะเสียทันที 



ไดโอดเปล่งแสง  LED
   วิธีสังเกตขาไดโอดเปล่งแสงคือขาแคโทดหรือขั้วลบจะมีชิ้นโลหะใหญ่ที่สุด

   
สัญลักษณ์ไดโอดเปล่งแสง
     สัญลักษณ์ของไดโอดเปล่งแสง



วิธีตรวจสอบ LED 
สามารถวัด LED  ได้ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็มหรือมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลก็ได้  ดูตัวอย่างตามรูป คุณสมบัติค่าทางไฟฟ้าในการวัดคือ Vf  ( Forward Voltage) และ กระแสที่ใช้ทดสอบอ้างอิงตาม Datasheet LED  ผู้ผลิตหลายราย ใช้   Test condtion   :    current   =  20mA 

วิธีตรวจสอบ LED แบบที่ 1   ใช้ย่านวัด LED ที่มิเตอร์มี
มัลติมิเตอร์บางรุ่นมีช่องเสียบวัด LED ทำให้สะดวกมากในการวัด  ปรับสวิตช์ไปที่ย่านวัด LED จากนั้น เสียบขา + - ให้ถูกต้องช่อง   ถ้า LED ดีจะสว่าง   LED เสียจะไม่สว่าง  ( เสียบตรงแถว NPN )


LED   Test   Check    วัดไดโอด




วิธีตรวจสอบ LED แบบที่ 2   ใช้ย่านวัด  Rx10
มัลติมิเตอร์แบบเข็มบางรุ่นไม่มีช่องเสียบวัด LED ก็สามารถใช้ย่านวัด Rx10  ที่ย่านวัดนี้จะมีกระแสทดสอบ 15mA ซึ่งใกล้เคียงกับ   Test Condition  Current ของผู้ผลิต LED ที่ใช้ 20mA  มัลติมิเตอร์แบบญุี่ปุ่นเมื่อใช้ย่านวัดโอห์มสายวัดสีดำจะมีไฟขั้ว  +   จึงต่อกับขาแอโนดของ LED  และสายวัดสีแดงจะเป็นไฟขั้ว -  จึงต่อกับขาแคโทด   ( ไฟนี้มาจากแบตเตอรี่ของมัลติมิเตอร์ )


LED  test   Check
   วัดไดโอดเปล่งแสงด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม ถ้าดีจะสว่างและเข็มขึ้น สายวัดสีดำต่อกับขาแอโนด ส่วนสายวัดสีแดงต่ออยู่กับขาแคโทด



วิธีตรวจสอบ LED แบบที่ 3   ใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล
ย่านวัดไดโอดของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลสามารถใช้วัด LED ได้  ถ้าดีจะมีแรงดันตกคร่อม LED เช่น  1.785V  1.584V   1.707V  เป็นต้น    ถ้าเสียหน้าจอจะแสดง OL หมายถึง LED ขาด   มีข้อจำกัดเรื่องกระแสทดสอบเนื่องจากมัลติมิเตอร์ดิจิตอลมีกระแสทดสอบน้อยมากแค่ 1mA ไม่เพียงพอที่จะทำให้ LED สว่างเหมือนมัลติมิเตอร์แบบเข็มที่มีกระแสทดสอบถึง 15mA   สำหรับขั้วไฟจากสายวัดของมัลติมิเตอร์ดิจิตอลจะตรงตามสีของสายวัดเลยคือ สีแดงไฟขั้ว  + ใช้ต่อขาแอโนด    สีดำไฟขั้ว  - ใช้ต่อขาแคโทด 



วิธีตรวจสอบ LED
   แสดงแรงดันตกคร่อม LED  เมื่อได้รับไบอัสตรง สายวัดสีแดงต่อกับขาแอโนด และสายวัดสีดำต่อกับขาแคโทด    (  ใช้ย่านวัด Diode )


LED   Test  Check   วัดแอลอีดี  LED



Test  Check  LED   วิธีวัด  LED




ไดโอดเปล่งแสง   LED  Light Emitting Diode
    
    LED  ต้องใช้ตัวต้านทานจำกัดกระแสเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไหลผ่านตัวมันมากเกินไป





วิธีวัดฟิวส์หลอดแก้วและฟิวส์เซรามิคขาด เช็คสายไฟ สวิตช์ และเช็ครีเลย์ด้วยโหมดวัดความต่อเนื่องของดิจิตอลมัลติมิเตอร์

โหมดวัดความต่อเนื่องของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ใช้เช็คว่าสายไฟขาดหรือไม่ขาด ใช้วัดฟิวส์  หน้าสัมผัสของสวิตช์ และเช็ครีเลย์  รวมทั้งประยุกต์ใช้งานในลักษณะที่คล้ายกัน เช่น วัดจุดต่อ 2 จุดต้องไม่ช๊อตถึงกันจึงจะดีเมื่อวัดด้วยโหมดนี้แล้วต้องไม่มีเสียงสัญญาณดัง   วัดจุดต่อ 2 จุดต้องช๊อตถึงกันจึงจะดีเมื่อวัดด้วยโหมดนี้แล้วต้องมีเสียงสัญญาณดัง   สำหรับมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะใช้ชื่อย่านวัด BUZZ หรือ   CONT'Y  หลักการทำงานของโหมดวัดนี้คือมัลติเตอร์จะจ่ายกระแสไฟระดับ mA  ให้ไหล่ผ่านตัวอุปกรณ์หรือเส้นตัวนำที่วัด ถ้าเส้นตัวนำไม่ขาดจะมีเสียงสัญญาณดังบีบๆ   กรณีเส้นทางไฟฟ้าขาดจากกันจะไม่มีเสียง  ยกตัวอย่างเช่น ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น  UT33A+   ถ้าวัดได้ความต้านทานน้อยกว่า 10 โอห์มมิเตอร์จะส่งสัญญญานเสียง ( มิเตอร์รุ่นต่างๆจะมีค่านี้ไม่เหมือนกัน )   ด้วยวิธีการใช้สัญญาณเสียงยืนยันการต่อถึงกันหรือไม่ต่อถึงกันนี้ของตัวนำทำให้สามารถเช็คอุปกรณ์ดีเสียได้อย่างรวดเร็วกว่าใช้ย่านวัดตัวต้านทานปกติ  
 


การใช้มัลติมิเตอร์
   โหมดวัดความต่อเนื่องของดิจิตอลมัลติมิเตอร์




การใช้มัลติมิเตอร์
    โหมดวัดความต่อเนื่องของมัลติมิเตอร์แบบเข็มใช้ชื่อ BUZZ หรือ  CONT'Y



ตัวอย่างการใช้โหมดวัดความต่อเนื่องวัดสายไฟ  วัดฟิวส์  เช็คสวิตช์ และเช็ครีเลย์
สำคัญมากการใช้ย่านวัดความต่อเนื่องนี้ต้องวัดขณะที่ไม่มีไฟอยู่ในวงจร หรือให้ปิดสวิต์ ถอดปลั๊กก่อนทำการวัดทุกครั้งเนื่องจากในการวัดนี้ต้องใช้ไฟจากตัวมิเตอร์ถ้าไม่ทำตามมิเตอร์จะพังเสียหายทันทีและมีอันตราย (ถ้าไม่ปิดสวิตช์หรือเอาไฟออกจากวงจรก่อน)
   
1.   ให้ปิดสวิตช์ถอดปลัก  เอาไฟออกจากวงจรก่อนทำการวัด หรือให้ถอดอุปกรณ์ออกก่อนแล้วค่อยวัด
2.   ปรับสวิตช์ไปที่โหมดวัดความต่อเนื่อง
3.   ต่อสายวัด ต่อสายข้างไหนก็ได้เพราะไม่มีขั้ว ถ้ามีเสียงสัญญาณดังแสดงว่าเส้นตัวนำต่อถึงกัน(สายไฟไม่ขาด )



การใช้มัลติมิเตอร์
 เช็คสายไฟว่าขาดในหมือไม่    ถ้าสายไฟไม่ขาดจะมีเสียงสัญญาณดัง พร้อมหน้าจอแสดงค่าความต้านทานค่าต่ำๆ



วัดฟิวส์   การใช้มัลติมิเตอร์
    เช็คฟิวส์   ถ้าฟิวส์ไม่ขาดจะมีเสียงสัญญาณดัง พร้อมหน้าจอแสดงค่าความต้านทานค่าต่ำๆ


    
วัดฟิวส์    ฟิวส์เซรามิคขาด
   ฟิวส์เซรามิคขาด  ถ้าฟิวส์ดีจะมีสัญญาณเสียงดังและแสดงค่า R    0 Ohm หรือค่าต่ำ  ๆ
   ฟ้าฟิวส์ขึ้นจะขึ้น OL และไม่มีเสียงสัญญาณดัง


อาการฟิวส์ขาดคือไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล  อุปกรณ์หรือวงจรไม่ทำงาน สาเหตุมีหลายอย่าง  เช่นมีกระแสไหลเกินเพราะมีอุปกรณ์บางตัวดึงกระแสมากกว่าปกติ  อุปกรณ์บางตัวในลำดับถัดไปซ๊อตจึงมีกระแสไหลเกินจำนวนมากถึงระดับที่ฟิวส์ขาด  ต้องเช็คและทำการแก้ไขก่อนใส่ฟิวส์ตัวใหม่เข้าไป  ฟิวส์ขาดดูยังไง ?  ถ้าเป็นฟิวส์หลอดแก้วสังเกตง่ายๆ เส้นฟิวส์ที่อยู่ข้างในจะขาดออกจากกัน พร้อมกับตรงหลอดแก้วจะมีคราบร่องรอยการไหม้ และถ้าเป็นฟิวส์เซรามิคขาดดูยังไง ?   ไม่สามารถดูได้ด้วยตัวเปล่าเพราะมันทีบแสงต้องใช้มัลติเตอร์วัดโอห์ม  Rx1 วัด  ถ้าฟิวส์ดีเข็มต้องขึ้น ถ้าฟิวส์ขาดเข็มจะไม่ขึ้น  หรือใช้โหมดวัดความต่อเนื่องวัดก็ได้ ถ้าฟิวส์ดีจะต้องมีเสียงสัญญานดังถ้าไม่ดังคือฟิวส์ขาดแล้ว




สำหรับการวัดสวิตช์ให้สังเกตขาสวิตช์ก่อนทำการวัด ตามหลักกรณีสวิตช์ปกติ 
-   ขา COM กับขา NC   ปกติตัวนำด้านในจะต่อถึงกันอยู่ถ้าใช้โหมดวัดความต่อเนื่องวัดเช็คจะต้องมีสัญญาณเสียงดัง 
-    ขา COM กับขา NO   ปกติตัวนำด้านในจะไม่ต่อถึงกัน ถ้าใช้โหมดวัดความต่อเนื่องวัดจะต้องไม่มีสัญญาณเสียงดัง ถ้ามีสัญญาณเสียงดังหมายถึงหน้าสัมผัสติดกัน  สวิตช์เสียแล้ว



การใช้มัลติมิเตอร์  วัดหน้าสัมผัสสวิตช์
ขา COM และขา NC ของสวิตช์หน้าสัมผัสข้างในต่อถึงกันอยู่   ถ้าใช้มิเตอร์วัดจะมีสัญญาณเสียงดัง คือสวิตช์ดี เมื่อใช้มือกดลูกล้อลงสวิตช์จะเปลี่ยนสถานะเป็นตัด  สัญญาณเสียงต้องไม่ดัง



สำหรับการเช็ครีเลย์ไม่ว่าจะเป็นรีเลย์ 4  ขา  5 ขา  6 ขา  8 ขา จะมีหลักการวัดเหมือนกันคือ    
1. วัด Coil  ของรีเลย์ ใช้ย่านวัดโอห์ม   ถ้า Coil ดี (ไม่ขาด)จะมีค่าความต้านทาน
2. วัดหน้าสัมผัสของรีเลย์ ให้วัดหน้าสัมหมดทุกชุดแบ่งย่อยออกเป็น  2  กรณีคือ
2.1  หนัาสัมผัสขา COM กับขา NC  ปกติจะต่อถึงกันอยู่  ถ้าวัดจะมีสัญญาณเสียงดัง ถ้าไม่ดังคือเสีย
2.2  หนัาสัมผัสขา COM กับขา NO  ปกติจะไม่ต่อถึงกัน วัดต้องไม่มีสัญญาณเสียงดัง ถ้าวัดแล้วมีสัญญาณเสียงดังคือหน้าสัมเสียแบบหน้าสัมผัสติดกัน


ขั้นตอนการวัดหรือเช็ครีเลย์
1. ให้ถอดรีเลย์ออกมา ให้วัดขณะที่ไม่มีไฟ หรือปิดสวิตช์ถอดปลั๊กก่อนวัดทุกครั้ง
2. ให้ดูไดอะแกรมหน้าสัมผัส Contact ของรีเลย์ ที่ตัวรีเลย์
3. ใช้ย่านวัดโอห์มวัด Coil ต้องมีค่าความต้านทาน จึงจะเป็นรีเลย์ดี  
4. ใช้ย่านวัดความต่อเนื่องวัดหน้าสัมผัสของ Relay   
ตามหลักการข้างต้น  ขา COM กับขา NC ปกติต่อถึงกัน วัดแล้วต้องมีเสียงดังจึงจะเป็นหน้าสัมผัสที่ดี  
ตามรูปหน้าสัมผัสมี  4 ชุดให้วัดทุกชุดและทุกชุดต้องมีสภาพดีหมด
 ขา  1 กับขา 9 ต่อถึงกันอยู่      ขา 2 กับขา 10 ต่อถึงกันอยู่
 ขา 3 กับขา 11 ต่อถึงกันอยู่     ขา 4 กับขา 12 ต่อถึงกันอยู่
เมื่อวัดขาด้านบนของ  4  ชุดนี้ต้องมีสัญญาณเสียงดังจึงจะเป็นหนัาสัมผัสที่ดี

 ขา COM กับขา NO ปกติไม่ต่อถึงกัน  วัดแล้วต้องไม่มีเสียงดังจึงจะเป็นหน้าสัมผัสที่ดี  
 ขา  5 กับขา 9  ไม่ต่อถึงกัน        ขา  6 กับขา 10  ไม่ต่อถึงกัน 
 ขา  7 กับขา 11  ไม่ต่อถึงกัน      ขา  8 กับขา 12  ไม่ต่อถึงกัน 
เมื่อวัดขาด้านบนของ  4  ชุดนี้ต้องไม่มีสัญญาณเสียงดังจึงจะเป็นหนัาสัมผัสที่ดี

Note: ขา 9  , ขา  10  , ขา  11  และขา  12 คือขา COM  (Common)




 ไดอะแกรมหน้าสัมผัสของ Relay ที่วัดเป็นตัวอย่าง มีหน้าสัมผัส 4 ชุด ต้องวัดทุกชุด  โดยมีขา 13 และ 14 เป็นขา Coil 


     
การใช้มัลติมิเตอร์  วัดหนัาสัมผัสรีเลย์
วัด coil ของรีเลย์ต้องมีค่าความต้านทาน  ถ้าไม่มีความต้านทานคือ Coil ขาด / รีเลย์เสีย       Relay ตามตัวอย่างนี้ ขา 13 และ 14 เป็นขา Coil 




อ่านต่อ >>>>


วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม

วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

วัดไดโอด  SMD  

วัดไดโอดบริดจ์ 

วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง


วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

วัดทรานซิสเตอร์   ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD

วัดทรานซิสเตอร์รั่ว

วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์

การวัดไดโอดบริดจ์ของวงจรเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

วงจรเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นใช้ไดโอดบริดจ์ซึ่งวงจรภายในของไดโอดบริดจ์มีไดโอด 4 ตัว วงจรข้างในจะเหมือนกันหมดทุกเบอร์หรือเป็นวงจรมาตรฐาน   ขั้นตอนการวัดอันดับแรกทำความเข้าใจวงจรข้างในว่าไดโอดแบบนี้มีขาอะไรบ้าง   มีทิศทางการต่ออย่างไรให้ดูไดอะแกรมในรูปจะมีขา +  ขา -   ขาไฟ AC จุด 1 และขาไฟ AC จุด 2      อันดับที่2 เข้าใจขั้วไฟของสายวัดมิเตอร์ว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลและมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะมีขั้วไฟตอนวัดไดโอดแตกต่างกัน    ไดโอดบริดจ์เป็นอุปกรณ์หลักในวงจรภาคจ่ายไฟและเป็นไดโอดทีทนกระแสได้หลายแอมป์จึงมีขนาดใหญ่ ส่วนรูปร่างหรือแพคเกจของไดโอดมีแบบเคสสี่เหลี่ยม  แบบกลม    ตัวอย่างเบอร์    KBPC10 ทนกระแสได้ 10A   ,  KBPC15  ทนกระแสได้ 15A  ,   KBPC25  ทนกระแสได้ 25A   ,   KBPC35    ทนกระแสได้ 35A   ,  KBPC50  ทนกระแสได้ 50A  เป็นต้น  ตัวเลขตัวหลังสุดบอกค่าแรงดันที่ทนได้    โดย  01 =  100V  ,  02 = 200V ,  04 =  400V ,  06 = 600V , 08=800V ,   10 = 1000V  ,  12=1200V ,  14=1400V  , 16=1600V   เป็นต้น      ยกตัวอย่างเบอร์    KBPC3504  ทนกระแสได้  35A  แรงดัน 400V     เบอร์    KBPC3512   ทนกระแสได้  35A   แรงดัน 1200V  ,    KBPC1006  ทนกระแสได้  10A แรงดัน 600V




วัดไดโอดบริดจ์   วัดไดโอด   Test   Diode  Bridge
    สังเกตขาของไดโอดบริดจ์ขา + และลบจะอยู่แนวทะแยงมุมกัน ขา AC กับ AC จะอยู่ทะแยงมุมกัน



  
วัดไดโอดบริดจ์   Test  Check  Diode Bridge   ໄດໂອດ

   สังเกตขาของไดโอดบริดจ์ขา + และ -  จะอยู่ริม ส่วนขา AC จะอยู่ด้านใน



ขั้้นตอนการวัดไดโอดบริดจ์แบบคราวๆ อย่างรวดเร็ว
1. หาตำเหน่งขาของไดโอดบริดจ์ตามรูปด้านบนและดูวงจรมาตรฐานของไดโอดบริดจ์ตามรูปด้านล่างนี้
2. ปรับสวิต์เลือกย่านวัดไปที่ย่านวัดไดโอด  หน้าจอจะแสดงรูปสัญลักษณ์ไดโอด
3. วัดขา AC กับขา AC  ตามหลักแล้วไฟ AC กับไฟ AC  2 เส้นต้องไม่ต่อถึงกันเด็ดขาดดังนั้น วัดขา AC  กับขา AC  วัดและสลับสายวัด  ขึ้น OL   2 ครั้ง = ดี
4.  วัดขา + และ -  ตามหลักแล้วไฟ + -  ต้องไหลได้ทิศทางเดียวคือไหลจาก +  ไป -  ดังนั้นวัดขา + - ต้องวัดขึ้น  1  ครั้ง   และวัดได้  OL   1 ครั้ง = ดี

วัดไดโอด   วงจรข้างในของไดโอดบริดจ์

                                                              วงจรข้างในของไดโอดบริดจ์




Test  Bridge Rectifier  Diode
                  วัดขา AC  กับขา AC  วัดและสลับสายวัด  ขึ้น OL   2 ครั้ง =  ดี



Test   Bridge Rectifier  Diode
วัดขา + และ - ต้องมีกระแสไหลได้ทิศทางเดียว ได้แรงดันตกคร่อมไดโอด 2 ตัวรวมกัน = 0.89V



Test  Bridge   Diode   ໄດໂອດ

สลับสายวัด วัดขา + และ - ต้องมีกระแสไหลได้ทิศทางเดียว ไดโอดไม่ยอมให้กระแสไหลหน้าจอขึ้น OL



ขั้นตอนการวัดไดโอดแบบวัดไดโอดทั้ง 4 ตัว เป็นการวัดแบบละเอียด
1.  สังเกตขาและวงจรข้างในของไดโอดบริดจ์  ให้สังเกตว่าขา + ของไดโอดบริดจ์แต่จริงๆเป็นขาแคโทดของไดโอดซึ่งต้องการไฟ -
2.  วัดไดโอดตัวที่ 1 และ  2   (  D1 และ  D2  )  สายวัดสีดำจับยึดขา +  ไว้คงที่เพราะขา + ของไดโอดบริดจ์แต่จริงๆเป็นขั้วแคโทดของไดโอด   ส่วนสายวัดสีแดงวัดขา AC ที่ 1 และขา AC ที่ 2 ไดโอดดีจะต้องมีแรงดันตกคร่อม  0.4V-0.8V   หมายถึงไดโอดดี   ถ้าเสียลักษณะขาดขึ้น OL  ถ้าเสียลักษณะช๊อตขึ้น 0.000


                                           ไดอะแกรมเพื่อวัดไดโอดตัวที่ 1 และตัวที่ 2  (  D1 และ  D2  )




Test  Bridge Rectifier  Diode




 สายสีดำจับยึดขา + ไว้คงที่   ส่วนสายสีแดงวัดขา AC ทั้งสอง   มีแรงดันตกคร่อมไดโอด 0.4-0.8V คือไดโอดดี


3.  วัดไดโอดตัวที่ 3 และ 4  (  D3 และ  D4  )  สายวัดสีแดงจับยึดขา  -  ไว้คงที่  ส่วนสายวัดสีดำวัดขา AC ที่ 1 และขา AC ที่ 2     ไดโอดดีจะต้องมีแรงดันตกคร่อม  0.4V-0.8V   หมายถึงไดโอดดี  ถ้าเสียลักษณะขาดขึ้น OL  ถ้าเสียลักษณะช๊อตขึ้น 0.000


สายวัดสีแดงจับยึดขาไดโอด -   ไว้คงที่  ส่วนสายวัดสีดำวัดขา AC ที่ 1  ไดโอดดีจะมีแรงดันตกคร่อม  0.4V - 0.8V   (ขึ้นอยู่กับเบอร์ไดโอด)



สายวัดสีแดงจับยึดขา -   ไว้คงที่  ส่วนสายวัดสีดำวัดขา AC ที่ 2   ไดโอดดีจะมีแรงดันตกคร่อม  0.4V - 0.8V    (ขึ้นอยู่กับเบอร์ไดโอด)