ย่านวัดของโอห์มมิเตอร์
มี 4 ย่านวัด วิธีเลือกย่านวัดคือควรเลือกย่านวัดที่ใกล้เคียงกับค่าที่จะทำการวัดให้มากที่สุด เช่นจะวัด R ค่า 100 โอห์มควรใช้ย่านวัด Rx10 เพราะที่ย่านวัดนี้จะทำให้เข็มชี้ที่บริเวณใกล้ๆกลางสเกล การเลือกย่านวัดที่ไม่เหมาะสมจะทำให้อ่านค่ายากและการวัดมีความคลาดเคลื่อนสูงเนื่องจากมัลติมิเตอร์แบบเข็มสเกลจะไม่เป็นเชิงเส้นให้สังเกตตรงขีดสเกล Ω จะเห็นว่าตั้งแต่เลข 0-50 ขีดสเกลจะละเอียดและอ่านค่าง่ายส่วนสเกลตั้งแต่ขีด 50 ขึ้นไป - 2K สเกลจะหยาบ
Rx1 วัดค่าได้ 0 - 2K Ohm แต่ควรใช้วัดค่า R ระดับหลักหน่วย-หลักสิบ เช่น 0 -50 Ohm
Rx10 วัดค่าได้ 0 - 20K Ohm แต่ควรใช้วัดค่า R ระดับหลักสิบ-หลักร้อย เช่น 50 -500 Ohm
Rx100 วัดค่าได้ 0 - 200K Ohm แต่ควรใช้วัดค่า R ระดับหลักร้อยหลัก K Ohm เช่น 500 -5K Ohm
Rx1K วัดค่าได้ 0 - 2M Ohm แต่ควรใช้วัดค่า R ระดับหลัก K Ohm เช่น 5K -50K Ohm
Rx10K วัดค่าได้ 0 - 20M Ohm แต่ควรใช้วัดค่า R ในช่วงความต้านทาน เช่น 50K -20 M Ohm
ย่านวัดตัวต้านทานหรือโอห์มมิเตอร์มี x1 x10 x100 x1K x100K
อ่านค่าความต้านทานจากสเกลโอห์มใช้สัญลักษณ์ Ω ( สเกลด้านบนสุดที่มีขีด 0 - 2K )
ขั้นตอนการวัดและวิธีอ่านค่าตัวต้านทาน ใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
1. ปิดสวิตช์ ถอดปลั๊กเพื่อเอาไฟออกจากวงจรหรือ R ที่จะวัดก่อน เพราะการวัด R ต้องวัดนอกวงจรและวัดขณะที่ไม่มีไฟเท่านั้น การวัด R จะใช้ไฟจากมัลติมิเตอร์ไหลผ่าน R จึงห้ามมีไฟจากเหล่งอื่นๆอีก ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้มิเตอร์จะพังและผู้ทำการวัดได้รับอันตราย
2. เสียบสายวัดสีแดงเข้ารูเสียบ + และสายวัดสีดำเข้ารูเสียบ -COM
3 แตะหรือซ๊อตสายวัดแดงกับดำเข้าด้วยกัน จากนั้น ปรับปุ่ม 0 Ω ADJ เพื่อให้เข็มเริ่มชี้ที่ 0 ของสเกล
4. ปรับเลือกย่านวัดที่เหมาะสม ตามที่อธิบายไว้แล้วข้างบน
5. ต่อสายวัดเข้ากับ R จะต่อข้างไหนก็ได้เพราะ R ไม่มีขั้ว กรณีใช้มือช่วยจับยึดให้จับได้แค่ 1 ข้างเท่านั้น
6. อ่านค่าผลการวัดโดย
ค่าของ R = ย่านวัดที่ตั้ง x จำนวนขีดที่อ่านได้
R ที่ดีต้องอ่านค่าความต้านทานได้ใกล้เคียงกับค่า R ของมันตามรหัสสีหรือตัวเลขที่ระบุค่าไว้
R เสียวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลย
R ยืดค่า อ่านค่าได้เกิน % คาดเคลื่อน สังเกตง่ายๆคืออ่านค่าได้ต่างจากค่าตามสเปคมาก
วัด R ค่า 15 Ohm อ่านค่าจากสเกลได้ 15.5 ขีด และใช้ย่านวัด x1 ดังนั้น
ค่าของ R = ย่านวัดที่ตั้ง x จำนวนขีดที่อ่านได้
= 1 x 15.5 = 15.5 Ohm
วัด R ค่า 100 Ohm อ่านค่าจากสเกลได้ 10 ขีด เมื่อใช้ย่านวัด x10 ดังนั้น
ค่าของ R = ย่านวัดที่ตั้ง x จำนวนขีดที่อ่านได้
= 10 x 10 = 100 Ohm
วัด R ค่า 390 Ohm อ่านค่าได้ 40 ขีด เมื่อใช้ย่านวัด x10 ดังนั้น
ค่าของ R = ย่านวัดที่ตั้ง x จำนวนขีดที่อ่านได้
= 10 x 40 = 400 Ohm
วัด R ค่า 22K Ohm อ่านค่าได้ 22 ขีด ใช้ย่านวัด x1K ดังนั้น
ค่าของ R = ย่านวัดที่ตั้ง x จำนวนขีดที่อ่านได้
= 1K x 22 = 22K Ohm
อ่านเพิ่ม >>>>
วัดถ่าน หรือ แบตเตอรี่
วัดกระแสไฟฟ้า
วัดแรงดันไฟฟ้า Vac
วัดแรงดันไฟฟ้า VDC
วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์แบบเข็ม
วัดไดโอด ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล
วัดไดโอด SMD
วัดไดโอดบริดจ์
วัด LED หรือไดโอดเปล่งแสง
วัดฟิวส์
วัดทรานซิสเตอร์ ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
วัดทรานซิสเตอร์ ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
วัดทรานซิสเตอร์จานบิน และทรานซิสเตอร์ SMD
วัดทรานซิสเตอร์รั่ว
วัด SCR และหาขาเอสซีอาร์
วัด C ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
วัดคาปาซิเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
การอ่านค่า R SMD โวลุ่ม TRIMMER และรหัสตัวเลข R
วัด เช็ค R ดีเสีย ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
วัด R ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(โอห์มมิเตอร์)
การอ่านค่าตัวเก็บประจุ และ การแปลงหน่วยคาปาซิเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น